ขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ในการขายฝากที่ดิน
ก่อนที่เราจะไปสู่ขั้นตอนการทำขายฝากที่ดิน ขอให้เราทำความเข้าใจกันก่อนว่าความหมายของการขายฝากที่ดินคืออะไรและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
การขายฝากที่ดิน เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแปลงทรัพย์สินให้กลายเป็นเงินทุนได้ โดยสามารถทำได้ในกรณีที่ที่ดินที่จะขายฝากไม่มีหรือไม่มีภาระติดตั้งโดยธนาคารหรือบุคคล ข้อตกลงขายฝากที่ดินกับบริษัทกำหนดให้ระยะเวลาไถ่คืนที่ดินไม่เกิน 10 ปี และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อตกลงของผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก อย่างไรก็ตาม ในกรณีขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยในกรณีที่ผู้ขายฝากเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป
ตอนในการขายฝากที่ดิน |
1. ผู้รับซื้อฝากทำการประเมินราคาที่ดิน พร้อมตีราคา ที่ต้องการขายฝาก
2. ผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝาก เจรจาทำความตกลงราคาที่ต้องการ และการทำนิติกรรมสัญญาขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน
3. ผู้ขายฝากได้รับเงิน และ ผู้รับซื้อฝากจะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินทันที หลังจากจดทะเบียน
4. ผู้รับซื้อจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย ให้ผู้ขายฝาก ไม่เกิน 15% ต่อปี ตามกฎหมาย
5. ผู้ขายฝากจำเป็นต้องชำระดอกเบี้ยทุกเดือน จนครบระยะเวลาไถ่ถอน ตามที่สัญญาขายฝากกำหนด โดยผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนได้ ณ สำนักงานที่ดิน
เอกสารที่ใช้ในขั้นตอนขายฝากที่ดิน |
1. โฉนดที่ดินตัวจริง พร้อม สำเนา (2ฉบับ)
2. ทะเบียนบ้านตัวจริงพร้อม สำเนาบัตรประชาชน (2ฉบับ)
3. ใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล ตัวจริง (ถ้ามี)
4. ใบทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน |
1. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขายฝาก ในอัตรา 2% ของราคาประเมิน
2. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณีถือครองอสังหาริมทรัพย์ยังไม่เกิน 5 ปี) ในอัตรา 3.3% หรือ ค่าอากรแสตมป์ ในอัตรา 0.5% ของราคาประเมิน หรือราคาขายฝาก แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า (ถ้าเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์อีก)
3. ค่าภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมิน ตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด