แชร์

ต้องการขายฝาก ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

             การทำสัญญาขายฝาก ควรเตรียมเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขายฝากที่ดินให้ครบถ้วน โดยเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินความพร้อมของผู้ขายฝากได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ การเตรียมเอกสารต้องครอบคลุมทุกด้านของความสัมพันธ์และสถานะของผู้ขายฝาก โดยเฉพาะสถานะความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินการทำธุรกรรมทางที่ดินในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการขายฝากที่ดิน การจำนำที่ดิน จำนองที่ดิน หรือการขายที่ดิน ซึ่งทุกเอกสารต้องได้รับการยืนยืนอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

           ผู้ขายฝากและผู้รับซื้อต้องเตรียมเอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารอื่น ๆ อีกทั้งยังมีความสำคัญของใบแสดงสถานะความสัมพันธ์ เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสถานะความสัมพันธ์ เพื่อใช้ในกรณีที่จำเป็น เพื่อประกอบการดำเนินการกับสำนักงานที่ดิน 

 

ขายฝากที่ดินทำไมต้องมีเอกสารแสดงสถานะความสัมพันธ์ ?

                 อ้างอิงจากระเบียบข้อกฎหมายของกรมที่ดิน การทำธุรกรรมทางที่ดินจำเป็นต้องระบุข้อมูลทะเบียนราษฎร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบตัวตน ที่อยู่ที่ชัดเจน สถานะคู่สมรส หย่าร้าง หรือโสด หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ผู้ที่ทำธุรกรรมขายฝากเสียชีวิต จะส่งผลกระทบต่อมรดก ไมว่าจะเป็นรูปแบบของการทำธุรกรรมทางที่ดินใดก็ตาม ผลกระทบจะมีต่อทายาท คู่สมรส หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันทางกฎหมายกับผู้ขายฝากทันที

                         การทำธุรธรรมขายฝากที่ดินจำเป็นต้องขอความยินยอมเสมอเพื่อป้องกันความเสียหายของฝ่ายอีกฝ่าย หากเกิดหนี้จากการทำธุรกรรมควรรับผิดชอบร่วมกัน และเพิ่มความมั่นใจด้านการชำระเงินตามสัญญา หากฝ่ายที่เสียหายไม่ไม่ปฎิบัติตามระเบียบคู่สมรส สามารถเรียกร้องให้เพิกถอน แต่การทำธุรกรรมที่เป็นเป็นผลประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย เช่นการได้รับเงิน ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากฝ่ายคู่สมรส

 

 สถานะภาพตามระเบียบของกรมที่ดินแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

1.กรณีมีคู่สมรส
2.กรณีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ
3.กรณีหย่า หรือ คู่สมรสเสียชีวิต
4.กรณีไม่มีคู่สมรส


เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการขายฝากที่ดินแต่ละสถานะ เมื่อต้องทำธุรกรรมที่สำนักงานที่ดิน มีดังนี้

สถานภาพเอกสารที่ต้องเตรียม
1.กรณีมีคู่สมรสเอกสารฉบับจริง
  • โฉนดที่ดิน
  • บัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน
  • ใบทะเบียนสมรส
  • ใบอนุญาต/รับรองสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งสาระสำคัญของผู้ขายฝากเป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าว (กรณีเป็นอาคาร/บ้าน ปลูกสร้างเอง ไม่ใช่โครงการบ้านจัดสรร)
  • ใบปลอดหนี้ (กรณีอาคารห้องชุด หรือคอนโดมิเนียม)

เอกสารคู่สมรส ฉบับจริง

  • บัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน

เอกสารอื่นเพิ่มเติม (ถ้ามี)

  • ใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล
  • หนังสือการเปลี่ยนแปลงสัญชาติ

2.กรณีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ

รายการเอกสารฉบับจริง

  • โฉนดที่ดิน
  • บัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน
  • ใบทะเบียนสมรส
  • ใบอนุญาตรับรองสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งสาระสำคัญของผู้ขายฝากเป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าว (กรณีเป็นอาคาร/บ้าน ปลูกสร้างเอง ไม่ใช่โครงการบ้านจัดสรร)
  • ใบปลอดหนี้ (กรณีอาคารห้องชุด หรือคอนโดมิเนียม)

เอกสารคู่สมรส

  • Passport และ Work permit
  • ทะเบียนบ้าน
  • คำขอเบ็ดเตล็ดลงนาม ณ กรมที่ดิน
  • ขอแสดงตัวคู่สมรสต่างด้าว
  • หนังสือรับรองชาวต่างชาติ


เอกสารอื่นเพิ่มเติม (ถ้ามี)

  • ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล
  • หนังสือการเปลี่ยนแปลงสัญชาติ

3.กรณีหย่า หรือ คู่สมรสเสียชีวิต
เอกสารฉบับจริง
  • โฉนดที่ดิน
  • บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนหย่า หรือ สำเนาใบมรณะบัตรคู่สมรส
  • ใบอนุญาตรับรองสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งสาระสำคัญของผู้ขายฝากเป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าว (กรณีเป็นอาคาร/บ้าน ปลูกสร้างเอง ไม่ใช่โครงการบ้านจัดสรร)
  • ใบปลอดหนี้ (กรณีอาคารห้องชุด หรือคอนโดมิเนียม)

เอกสารอื่นเพิ่มเติม (ถ้ามี)
  • ใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล
  • หนังสือการเปลี่ยนแปลงสัญชาติ
  • แนบท้ายเอกสารท้ายใบหย่า


4.กรณีไม่มีคู่สมรส (โสด)เอกสาร(ฉบับจริง)
  • โฉนดที่ดิน
  • บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
  • ใบอนุญาตรับรองสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งสาระสำคัญของผู้ขายฝากเป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าว (กรณีเป็นอาคาร/บ้าน ปลูกสร้างเอง ไม่ใช่โครงการบ้านจัดสรร)
  • ใบปลอดหนี้ (กรณีอาคารห้องชุด หรือคอนโดมิเนียม)


เอกสารอื่นเพิ่มเติม (ถ้ามี)

  • ใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล
  • หนังสือการเปลี่ยนแปลงสัญชาติ


*** ข้อควรระวัง ในส่วนตอนท้ายของเอกสารการเปลี่ยนชื่อแต่ละสังเกตของความสัมพันธ์

                            หากมีเอกสารเพิ่มเติมจะแสดงว่าเป็นเอกสารการเปลี่ยนชื่อ - นามสกุลซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าผู้ขายฝากจะเปลี่ยนชื่อกี่ครั้งก็ตาม จำเป็นต้องใช้ใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุลทุกครั้งเพื่อการอ้างอิงทั้งหมด เนื่องจากเป็นข้อมูลทะเบียนราษฎรและหลักฐานที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกรรมที่ดิน.

***หนังสือการเปลี่ยนแปลงสัญชาติสามารถทำธุรกรรมการขายฝากที่ดินเมื่อได้รับสัญชาติไทยเท่านั้น

                             การขายฝากเป็นกระบวนการที่สามารถเสริมโอกาสในการเข้าถึงเงินทุนหรือดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับที่ดินได้ อย่างไรก็ตาม ควรวางแผนและตัดสินใจอย่างรอบคอบ เนื่องจากในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น คู่สมรส ทายาท หรือผู้เกี่ยวข้องทางกฎหมายกับผู้ขายฝากจะต้องรับผิดชอบแทน ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลและข้อกำหนดต่าง ๆ ละเอียดอย่างถี่ถ้วนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในอนาคต



บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ